ความหมาย การจัดการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์เป็นการประยุกต์การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) กับการเรียนรู้ (Learning) ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของเบนจามิน บลูม (Bloom Taxonomy) มาใช้จัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้ตามศักยภาพผู้เรียน สู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของห้องเรียน (หรือรายวิชาที่สอน)
- การกำหนดทิศทางการเรียนรู้
- การกำหนดกลยุทธ์การเรียนรู้
- การนำกลยุทธ์การเรียนรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
- การกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน และให้คำปรึกษาการเรียนรู้
- การสรุปรายงานผลการเรียนรู้
ลักษณะการจัดการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์
- มุ่งเน้นผลลัพธ์สุดท้ายในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Ultimate Outcome) ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล โดยเน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากภายในตนเองด้วย การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Learning with other) ผ่านการสอน การชี้แนะ การให้โอกาส ในการเรียนรู้ตามลำดับของเกณฑ์ระดับคุณภาพการเรียนรู้
- การมุ่งเน้นการเรียนรู้เชิงบูรณการ (Integration) และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participation Learning) โดยเน้นการเรียนรู้ที่อยู่ในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้แบบสมมุติจากในห้องเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จากในห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียนโดยถือเป็นเวลาเรียนตามโครงสร้างหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นการประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่แท้จริง (Authentic Assessment) โดยการจัดการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result based Management) การประเมินจะใช้วิธีการเทียบเคียงผลลัพธ์กับมาตรฐานการแสดงออกของผู้เรียนตามเกณฑ์ระดับคุณภาพที่กำหนด (Benchmarking)
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมห้องเรียนหรือการเรียนการสอนรายวิชา มีวัตถุประสงค์
1). เพื่อทราบศักยภาพของการจัดการเรียนการสอนในส่วนของผู้เรียน ครู วัสดุอุปกรณ์ การจัดการเรียนรู้ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
2).เพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปกำหนดทิศทางการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จัดการเรียนรู้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดภายใต้บริบทขององค์การและคุ้มค่าต่อการจัดการ
– สภาพแวดล้อมของห้องเรียน ประกอบด้วย
- สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย
- ผลการทดสอบระดับชาติ (NT O-NET LAS) รวมทั้งการทดสอบระหว่างชาติด้วย
- นโยบายทางการศึกษาของหน่วยเหนือ และความคาดหวังของสังคม
- งบประมาณสนับสนุนจากหน่วยเหลือและภายนอก
- สภาพชุมชนท้องถิ่น
- กฎหายทางการศึกษาที่เกี่ยวของและกฎหมายอื่นๆ
- ความคาดหวังทางการศึกษาของผู้ปกครอง
- ระบบข้อมูลสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี
- สภาพแวดล้อมภายในที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย
- ระบบข้อมูลสารสนเทศด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน
- ข้อมูลสารสนเทศผู้เรียน
- ความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู
- ความรู้ความสามารถการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือศักยภาพผู้เรียน
- วัสดุอุปกรณ์ สื่อ/นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
- ห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
– การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
จะวิเคราะห์จากปัจจัยที่มีอิทธิพลหรือกระทบต่อการจัดการเรียนรู้ 4 ด้าน ได้แก่
- ด้าน โอกาส (Opportunities: O)
- ด้าน อุปสรรค (Threats)
- ด้าน จุดแข็ง (Strengths)
- ด้าน จุดอ่อน (Weaknesses: W)
โดยจะวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อศึกษา โอกาส (O) และอุปสรรค (T) วิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในเพื่อศึกษา จุดแข็ง (S) และจุดอ่อน (W) โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- ก่อนดำเนินการวิเคราะห์ต้องประชุมผู้มีส่วนได้เสียเพื่อกำหนดประเด็นปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในทุกด้านทุกประเด็นและกำหนดค่าผลกระทบหรือมีอิทธิพลดังนี้ ปัจจัยด้านโอกาสและจุดแข็ง มีค่าผลกระทบมากเท่ากับ +3 ผลกระทบปานกลาง เท่ากับ +2 ผลกระทบน้อย เท่ากับ +1 ปัจจัยด้านอุปสรรคและจุดอ่อน มีผลกระทบหมาก เท่ากับ -3 ผลกระทบปานกลาง เท่ากับ -2 ผลกระทบน้อย เท่ากับ -2
- นำประเด็นปัจจัยสภาพแวดล้อมทุกด้านทุกข้อไปกำหนดไว้ในตารางวิเคราะห์ SWOT หรือ SWOT Matrix ที่กำหนด โดยกำหนดจุดตัดค่าเฉลี่ยของค่าน้ำหนักผลกระทบแต่ละด้านลงในแผนกราฟจำนวน 4 จุดในช่องกราฟทัง 4 ช่องดังนี้ ช่องที่ 1 ขวาบนเป็นจุดตัดของ SO ช่องที่ 2 ขวาล่างเป็นจุดตัดของ ST ช่องที่ 3 ซ้ายล่างเป็นจุดตัดของ WT และช่องที่ 4 ซ้ายบน เป็นจัดตัดของ OW
- ลากเส้นตรงจากจุดตัดทั้ง ๔ จุดเชื่อมถึงกัน แล้วพิจารณาว่าพื้นที่ภายใต้กราฟในช่องใดของกราฟมีพื้นที่มากกว่ากันแสดงว่าทิศทางการจัดการเรียนรู้ของรายวิชานี้หรือห้องเรียนนี้มีทิศทางไปทางนั้น โดยแต่ละทิศทางจะมีแนะทางการพยากรณ์ดังนี้
- พื้นที่อยู่ในช่องที่ 1(ขวาบน) –SO แสดงว่าสถานะของห้องเรียนอยู่ในสถานะดาวรุ่ง (STAR) ที่พร้อมจะพัฒนาการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศได้อย่างยิ่ง
- พื้นที่อยู่ในช่องที่ 2(ขวาล่าง) –ST แสดงว่าสถานะของห้องเรียนอยู่ในสถานะป้องกัน (CASH COWS) หากจะพัฒนาการเรียนรู้ให้สู่เป้าหมายต้องป้องกันอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยภายนอก
- พื้นที่อยู่ในช่องที่ 3 (ซ้ายล่าง) –WT แสดงว่าสถานะของห้องเรียนอยู่ในสถานะหมาจนตรอก (DOGS) ที่ต้องประคับประคองให้การจัดการเรียนรู้บรรลุตามเกณฑ์ขั้นต่ำ (Benchmark) ของหลักสูตรก็เพียงพอแล้วไม่ต้องพัฒนาสู่ความเป็นเลิศเด็ดขาด
- พื้นที่อยู่ในช่องที่ 4 (ซ้ายบน) – OW แสดงว่าสถานะของห้องเรียนอยู่ในสถานะพลิกฟื้น (QUESTION) โดยการจะจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศได้ต้องพัฒนาศักยภาพครูให้สูงขึ้นจากเดินก่อนจึงจะมุ่งสู่ความเป็นเลิศได้
– การกำหนดทิศทางการใช้หลักสูตรหรือทิศทางการจัดการเรียนรู้
หมายถึง การกำหนด วิสัยทัศน์ พันธะกิจ และเป้าประสงค์ของการเรียนรู้ของหลักสูตรหรือการจัดการเรียนรู้ดังนี้ การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) นำผลการพยากรณ์จากตารางวิเคราะห์ SWOT มากำหนดเป็นวิสัยทัศน์ ดังตัวอย่างการเขียนวิสัยทัศน์
- ห้องเรียนสู่ความเป็นเลิศ กรณีมี สถานะ STAR
- ห้องเรียนแห่งรุ่งอรุณ กรณีมี สถานะ CASH COWS
- ห้องเรียนแห่งการพัฒนา กรณีมี สถานะ QUESTION
- ห้องเรียนสู่มาตรฐาน กรณีมี สถานะ DOGS
การกำหนดพันธะกิจ (Mission) ให้กำหนดภารกิจสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ ตัวอย่างเช่น
- ห้องเรียนสู่ความเป็นเลิศ พันธะกิจ ได้แก่ จัดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทุกกลุ่ม ผู้เรียน
- ห้องเรียนแห่งรุ่งอรุณ พันธะกิจ ได้แก่ จัดการเรียนรู้สนองนโยบายหน่วยเหนือและศักยภาพผู้เรียน -ห้องเรียนแห่งการพัฒนา พันธะกิจ ได้แก่ พัฒนาครู สู่การจัดการเรียนรู้ที่เป็นเลิศ
- ห้องเรียนสู่มาตรฐาน พันธะกิจ พัฒนา ผู้เรียนทุกกลุ่มเรียนตามเป้าหมายมาตรฐานขั้นต่ำของหลักสูตร
การกำหนดเป้าหมาย (Goal) ให้กำหนดเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มผู้เรียนดังต่อไปนี้
- ห้องเรียนสู่ความเป็นเลิศ เป้าหมายผลการเรียนเฉลี่ย 3.01-4.00
- ห้องเรียนแห่งรุ่งอรุณ เป้าหมายผลการเรียนเฉลี่ย 2.01-3.00
- ห้องเรียนแห่งการพัฒนา เป้าหมายผลการเรียนเฉลี่ย 2.01-3.00
- ห้องเรียนสู่มาตรฐาน เป้าหมายผลการเรียนเฉลี่ย 1.00-2.00
– การกำหนดกลยุทธ์การเรียนรู้ตามศักยภาพผู้เรียน
- กำหนดเป้าหมายผลการเรียนเฉลี่ย 1.00-2.00 ควรใช้กลยุทธ์การถ่ายทอดความรู้ (Transmission)โดยการจัดการสอน (TEACH)หลากหลายวิธี ฝึกฝน (TRAIN) ให้ประพฤติปฏิบัติตาม และโน้มน้าวให้เชื่อฟัง (TAME)
- กำหนดเป้าหมายผลการเรียนเฉลี่ย 2.01-3.00 ควรใช้กลยุทธ์การสร้างองค์ความรู้ (Transformational) โดยการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อ (Media) และนวัตกรรม (Innovation) ที่หลากหลายให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวผู้เรียนเองอย่างเป็นขั้นตอน
- กำหนดเป้าหมายผลการเรียนเฉลี่ย 3.01-4.00 ควรใช้กลยุทธการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Transactional) ในการพัฒนาองค์ความรู้และผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาด้วยตัวผู้เรียนเองอย่างสร้างสรรค์และมีจินตนาการ
– การกำหนดเป้าหมายผู้เรียน (มาตรฐานการเรียนรู้ต่ำสุดหรือ Benchmark)
นักเรียนในแต่ละห้องเรียนหรือที่ลงทะเบียนเรียนตามรายวิชาต่างๆจะมีนักเรียนที่มีศักยภาพแตกต่างกัน ปกติจะมีการแบ่งผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่มง่ายๆ คือ กลุ่มผู้เรียนที่มีศักยภาพการเรียนรู้ต่ำหรือกลุ่มอ่อน กลุ่มที่มีศักยภาพปานกลาง และกลุ่มที่มีศักยภาพสูงหรือ กลุ่มเก่ง ผลการวิเคราะห์ห้องเรียนจะทำให้ทราบคล่าว ๆว่าศักยภาพผู้เรียนในห้องเรียนมีแนวโน้มเป็นอย่างไร เช่น ห้องเรียนสู่ความเป็นเลิศ จะประกอบไปด้วยผู้เรียนที่ปานกลางและเก่งจำนวนมาก ห้องเรียนแห่งรุ่งอรุณและห้องเรียนแห่งการพัฒนาจะมีนักเรียนคละพอๆกัน ห้องเรียนสู่มาตรฐานจะมีผู้เรียนปานกลางและอ่อนค่อนข้างมาก แต่การตรวจสอบที่ดีควรทำการทดสอบก่อนเรียนจะทำให้ทราบศักยภาพผู้เรียนที่ชัดเจนขึ้น การกำหนดเป้าหมายผู้เรียนควรกำหนดให้สอดคล้องกับเป้าหมายห้องเรียน ดังนี้
- กลุ่มอ่อน กำหนดเป้าหมายผลการเรียนขั้นต่ำที่ระดับผลการเรียน 1.00
- กลุ่มปานกลาง กำหนดเป้าหมายผลการเรียนขั้นต่ำที่ระดับผลการเรียน 2.00
- กลุ่มเก่ง กำหนดเป้าหมายผลการเรียนขั้นต่ำที่ระดับผลการเรียน 3.00
การกำหนดกลยุทธ์การเรียนรู้ตามเกณฑ์ระดับคุณภาพการเรียนรู้เพื่อการวัดและประเมินผล กำหนดดังนี้
ระดับคุณภาพ ระดับที่ 1 (Failed) | ผลการเรียน 0.00 | กลยุทธ์ Transmission |
ระดับคุณภาพ ระดับที่ 2 (Passed) | ผลการเรียน 1.00 | กลยุทธ์ Transmission |
ระดับคุณภาพ ระดับที่ 3 (Faired) | ผลการเรียน 2.00 | กลยุทธ์ Transformational |
ระดับคุณภาพ ระดับที่ 4 (Good) | ผลการเรียน 3.00 | กลยุทธ์ Transformational |
– การเตรียมการวางแผนการเรียนรู้ (Pre – plan)
นำผลก SWOT Analysis มาจัดทำเป็นทิศทางการเรียนรู้ วิสัยทัศน์ พันธะกิจ เป้าประสงค์ของรายวิชา นำคำอธิบายคุณภาพผู้เรียนหรือมาตรฐานสาระที่จะนำมาเป็นคำอธิบายรายวิชา ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ มาบูรณการเพื่อ กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Objective) กำหนดเกณฑ์ระดับคุณภาพการเรียนรู้ (Criteria)ของแต่ละวัตถุประสงค์ กำหนดกลยุทธ์การเรียนรู้แต่ละระดับการเรียนรู้ กำหนดสื่อ/นวัตกรรม กำหนดแบบวัดและประเมินผล กำหนดเวลาเรียนทั้งรายวิชาและรายจุดประสงค์ แล้วนำสิ่งที่กำหนดบันทึกลงในแบบฟอร์มการวิเคราะห์หลักสูตรรายวิชา ทั้งนี้ในการกำหนดเกณฑ์ระดับคุณภาพของวัตถุประสงค์การเรียนรู้นั้นมีกระบวนการทำดังนี้ นำวัตถุประสงค์ทีละข้อ มาจัดทำเกณฑ์ระดับคุณภาพ(Criteria) จำนวน 5 ระดับ ที่สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ดังนี้ ระดับคุณภาพระดับที่ 1 (Failed) ระดับคุณภาพระดับที่ 2 (Passed) ระดับคุณภาพระดับที่ 3 (Faired) ระดับคุณภาพระดับที่ 4 (Good) และระดับคุณภาพระดับที่ 5 (Excellent) โดยแต่ละระดับคุณภาพของแต่ละวัตถุประสงค์ให้เขียนคำอธิบายคุณภาพในรูปของความสามารถในการแสดงออกของการเรียนรู้ (Performance standard) ตามสมรรถนะการเรียนรู้ของเบนจามิน บลูม ทั้ง 3 พฤติกรรม ดังนี้
- สมรรถนะด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain)
- ระดับคุณภาพระดับที่ 1 – การจดจำ การเข้าใจ
- ระดับคุณภาพระดับที่ 2 – การจำ การเข้าใจ และการนำไปใช้
- ระดับคุณภาพระดับที่ 3 – การประยุกต์ใช้
- ระดับคุณภาพระดับที่ 4 – การวิเคราะห์และการประเมินค่า
- ระดับคุณภาพระดับที่ 5 – การสร้างสรรค์องค์ความรู้/ผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาใหม่
- สมรรถนะด้านจิตพิสัย (Affective Domain)
- ระดับคุณภาพระดับที่ 1 – การรับรู้แต่ยังไม่แสดงออก/ปฏิบัติ
- ระดับคุณภาพระดับที่ 2 – การตอบสนองเพื่อตนเอง/ไม่คำนึงถึงผู้อื่น
- ระดับคุณภาพระดับที่ 3 – การซาบซึ้ง ยินดี เกิดค่านิยม โดยระวังการกระทบต่อผู้อื่นผู้อื่น
- ระดับคุณภาพระดับที่ 4 – เห็นคุณค่าและสร้างเป้าหมายให้เกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น
- ระดับคุณภาพระดับที่ 5 – เกิดลักษณะนิสัยหรือเกิดบุคลิกภาพของตนเองเป็นที่ยกย่อง
ชมเชย เป็นประโยชน์แห่งตน ผู้อื่น และ สรรพสิ่ง
- สมรรถนะด้านการปฏิบัติ (Affective Domain)
- ระดับคุณภาพระดับที่ 1 – การรับรู้ขั้นตอนแต่ยังปฏิบัติไม่ได้
- ระดับคุณภาพระดับที่ 2 – การทำตามขั้นตอน/รูปแบบ ตามคำแนะนำ
- ระดับคุณภาพระดับที่ 3 – การทำตามขั้นตอน/รูปแบบ ด้วยตนเองและพัฒนารูปแบบให้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น - ระดับคุณภาพระดับที่ 4 – การปฏิบัติการตามแบบที่พัฒนาแล้วในระดับชำนาญการ
- ระดับคุณภาพระดับที่ 5 – การปฏิบัติการที่เป็นมืออาชีพที่สร้างสรรค์และเป็นธรรมชาติ
การวางแผนการจัดการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)
นำตารางวิเคราะห์หลักสูตรและข้อมูลสารสนเทศที่เตรียมไว้ มาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามแบบฟอร์มการวางแผนการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์ มีองค์ประกอบของแผนดังต่อไปนี้
- ปกหน้า
- แบบบันทึกการทำพันธะสัญญา
- คำนำ
- สารบัญ
- คำอธิบายการนำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์ไปใช้จัดการเรียนรู้
- รายละเอียดของแผนการเรียนรู้รายวิชา
- ชื่อแผน
- ทิศทางการใช้แผน (วิสัยทัศน์ พันธะกิจ เป้าหมาย ระดับรายวิชาและระดับกลุ่มผู้เรียน)
- ตารางวิเคราะห์หลักสูตรรายวิชา
- รายชื่อแผนการเรียนรู้รายจุดประสงค์
- แบบทดสอบก่อนเรียนพร้อมเฉลยเพื่อการจำแนกผู้เรียน
รายละเอียดของแผนการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์รายจุดประสงค์
- ชื่อแผนรายจุดประสงค์และเวลาเรียนตามตารางวิเคราะห์หลักสูตร
- มาตรฐาน/คำอธิบายคุณภาพ
- ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง/สาระการเรียนรู้
- คุณลักษณะที่พึงประสงค์/สาระที่จะพัฒนา
- วัตถุประสงค์การเรียนรู้ของตัวชี้วัด/คุณลักษณะที่พึงประสงค์
- เกณฑ์ระดับคุณภาพการเรียนรู้รายจุดประสงค์
- กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน
- กิจกรรมการเรียนรู้ตามลำดับคุณภาพการเรียนรู้
- ภาคผนวก (เอกสารประกอบแผน : บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ สื่อ/นวัตกรรมประกอบการสอนของครู สื่อ/นวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน แบบเสนอกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ